วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ราชบุรี






ปัญหาภัยแล้งฝนทิ้งช่วงหลายเดือน   อ่างเก็บน้ำสำนักห้วยไม้เต็งนํ้าลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเกษตรปลูกพืชผักและอุปโภคบริโภค

 
จังหวัดราชบุรีประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงหลายเดือน   นํ้าในอ่างเก็บนํ้าบางแห่งเหลือน้อย  โดยเฉพาะระบบการแจกจ่ายน้ำของอ่างเก็บนํ้าห้วยสำนักไม้เต็ง  ตำบลน้ำพุ  อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี  ซึ่งมีความจุขนาด 36 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่การใช้น้ำจำนวน 3 อำเภอ ได้แก่  อำเภอเมือง  อำเภอปากท่อ  อำเภอจอมบึง ขณะนี้เหลือปริมาณน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำห้วยสํานักไม้เต็งเพียงประมาณ  6 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น  ขณะที่มีเกษตรกรและชาวบ้านใช้น้ำกันหลายตำบล  จนทําปริมาณนํ้าในอ่างลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเกษตรปลูกพืชผัก ผลไม้และอุปโภคบริโภค   ในช่วงระยะนี้   
               
ด้านนายธีระ  อุนทะอ่อน  หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำโครงการชลประทานราชบุรี กล่าว่า  อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง ตําบลนํ้าพุ  อําเภอเมือง  ในช่วงต้นฤดูปลูกพืชฤดูแล้ง นํ้าในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณอยู่ประมาณ  14 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้มีการส่งน้ำให้กับพื้นที่ต่าง ๆ และมีการแจ้งกับเกษตรกรที่ใช้น้ำและบริการกับพื้นที่การเกษตรเพื่อการปลูกข้าวได้ประมาณไม่เกิน  4,000  ไร่ พืชประเภท พืชไร่ พืชผักประมาณ ไม่เกิน 9,000 ไร่ ในปริมาณน้ำ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่พอถึงเวลาจริง ๆ แล้ว เกษตรกรกลับขยายพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 5,500 ไร่ และพื้นที่ปลูกผัก พืชไร่ รวมแล้วประมาณ 15,000  ไร่ ซึ่งการปลูกข้าวที่เพิ่มขึ้นอีกกว่า 5,000  ไร่  ทำให้มีปัญหาเรื่องปริมาณน้ำไม่เพียงพอ 

แต่ก็ได้มีความพยายามบริหารจัดการน้ำให้เกษตรกรได้ประหยัดให้มากที่สุดดูแลการใช้น้ำของเกษตรกรไม่ให้รั่วไหลไปยังพื้นที่อื่น  แต่ถ้าหากฝนไม่ตกในช่วงระยะนี้  น้ำในอ่างคงจะเป็นปัญหาหนัก คาดว่าอาจจะทำให้ผลผลิตของเกษตรกรตกต่ำลง   ทั้งนี้เนื่องจากมีพื้นที่ทางการเกษตรเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายจำนำราคาข้าวที่ค่อนข้างสูง  ทำให้เป็นตัวชักจูงให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรในเรื่องของการปลูกข้าวมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่นอกเขตที่ยังมาเอาน้ำของอ่างเก็บน้ำไปใช้ด้วย จึงทำให้เป็นปัญหา
               
การแก้ปัญหาได้เข้มงวดและแจ้งบอกเกษตรกรว่าทางอ่างเก็บน้ำมีปัญหานํ้าเหลือน้อย  ขอให้เกษตรกรใช้น้ำกันอย่างประหยัด และอย่าใช้นํ้าให้มีการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   พยายามไม่ให้น้ำออกไปนอกพื้นที่  ตอนนี้ได้ผลพอสมควร  น้ำยังอยู่ในพื้นที่ทั้งหมดไม่ออกไปนอกเขต ท้ายที่สุดแล้วหากไม่มีฝนตกลงมาเลย  ทางเจ้าหน้าที่ก็จนปัญญาที่หาน้ำจากที่อื่นมาช่วย  อาจจะทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง  โดยสภาพปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดเลย ในระยะก่อนฤดูส่งน้ำเวลาเดียวกันน้ำ  ในอ่างมีอยู่ประมาณ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปีนี้กลับมีเพียง 14ล้านลูกบาศก์เมตร  และปีที่แล้วกับพื้นที่ทางการเกษตรไม่ถึงขนาดเท่าปีนี้  ทําให้เวลานี้นํ้าเหลือเพียง 6 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นเอง


 


*****************************************
ภาพ/ข่าว  ภัทรพงศ์  คำเปรม
24/04/56

ไม่มีความคิดเห็น: