จังหวัดราชบุรีจัดเสวนา "เส้นทางสู่อนาคตราชบุรี ปี 2025" และทิศทางการพัฒนาราชบุรี เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 จ.ราชบุรี โดยสำนักงานพาณิชย์ จ.ราชบุรี ได้จัดเวทีเสวนา "เส้นทางสู่อนาคตราชบุรี ปี 2025" ณ ห้องเวลาดี 1 โรงแรม ณ เวลา อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม ได้แก่ นายวิชัย โภชนกิจ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ บุญประทานพร วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ ผอ.กลุ่มงานประเมินผล สำนักงานแผนงาน กรมทางหลวง นายธนพล จรัลวณิชวงศ์ หน.กลุ่มกำกับการขนส่งทางราง ผู้แทน สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกร 8 ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ประธานกรรมการบริหารตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี (ตลาดศรีเมือง) โดยมี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการ จ.ราชบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ การเสวนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมฟังเสวนาจากผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม จำนวนกว่า 200 คน
การเสวนาจะเน้นหนักในเรื่องของเครือข่ายการขนส่ง (Logistics) ทางถนนและทางรถไฟ ที่เกี่ยวข้องกับ จ.ราชบุรี ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประชาชน จ.ราชบุรี อาทิ
เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2561 จ.ราชบุรี โดยสำนักงานพาณิชย์ จ.ราชบุรี ได้จัดเวทีเสวนา "เส้นทางสู่อนาคตราชบุรี ปี 2025" ณ ห้องเวลาดี 1 โรงแรม ณ เวลา อ.เมือง จ.ราชบุรี โดยได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วม ได้แก่ นายวิชัย โภชนกิจ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ บุญประทานพร วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ ผอ.กลุ่มงานประเมินผล สำนักงานแผนงาน กรมทางหลวง นายธนพล จรัลวณิชวงศ์ หน.กลุ่มกำกับการขนส่งทางราง ผู้แทน สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกร 8 ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ประธานกรรมการบริหารตลาดกลางผักและผลไม้ จ.ราชบุรี (ตลาดศรีเมือง) โดยมี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการ จ.ราชบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ การเสวนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมฟังเสวนาจากผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม จำนวนกว่า 200 คน
การเสวนาจะเน้นหนักในเรื่องของเครือข่ายการขนส่ง (Logistics) ทางถนนและทางรถไฟ ที่เกี่ยวข้องกับ จ.ราชบุรี ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประชาชน จ.ราชบุรี อาทิ
- ทางรถไฟรางคู่ระหว่าง นครปฐม-หัวหิน ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2564
- โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง ผ่านชุมทางหนองปลาดุก ที่ราชบุรี ผ่านจุดผ่านแดนบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ไปยังท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมาร์
- โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. (พ.ศ.2565-2569) ซึ่งต้องการย้ายสถานีราชบุรีไปอยู่ที่ใหม่ บริเวณ ต.คูบัว
- โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม - ชะอำ ระยะทาง 109 กม.
- โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี – ปากท่อ) ระยะทาง 75 กม.
- โครงการทางหลวงแนวใหม่เชื่อมต่อสามแยกวังมะนาว – บรรจบทางหลวงหมายเลข 3510 ระยะทาง 36.8 เพื่อใช้เป็นเส้นทางสำรอง ในการเดินทางลงสู่ภาคใต้ และสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดวิกฤตจากอุบัติภัยต่างๆ
ในตอนท้ายก่อนจบการเสวนา ผู้ร่วมเสวนาได้ซักถามถึงเรื่องการเก็บกู้ลูกระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ว่าจะมีการเก็บกู้หรือไม่อย่างไร และจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ของ จ.ราชบุรีหรือไม่
นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการ จ.ราชบุรี ตอบข้อซักถามว่า การเก็บกู้ลูกระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำ ดำเนินการแน่นอนเพื่อให้ปลอดภัยต่อประชาชนชาวราชบุรีและไม่กีดขวางการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ช่วงข้ามแม่น้ำแม่กลอง โดยจะเริ่มดำเนินการประมาณปลายเดือน ธ.ค.2561 รอให้ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองเข้าสู่ภาวะปกติ
ส่วนเรื่องการนำลูกระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำ ขึ้นมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องขอดูสภาพก่อนว่าจะสามารถบูรณะกลับคืนได้ไหม และลูกระเบิดจะมีความปลอดภัยแค่ไหน ส่วนเรื่องพิพิธภัณฑ์นั้น ไม่มีปัญหา เพราะตอนนี้ วางแผนไว้แล้ว ที่จวนผู้ว่าราชการหลังเก่า จะจัดสร้างเป็น "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรราชบุรี" และที่ศาลแขวงราชบุรี ตรงข้ามไปรษณีย์ราชบุรี ทางศาลฯ จะย้ายไปยังสำนักงานใหม่ซึ่งได้งบประมาณก่อสร้างแล้ว หลังจากนั้นจะจัดสร้างเป็น "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นราชบุรี" ส่วนอาคารไม้ในสถานีตำรวจฝั่งตรงข้ามหอนาฬิกาจะจัดสร้างเป็น "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" ส่วนเรื่องหัวรถจักรที่กู้ขึ้นมา หากสามารถบูรณะได้ และลูกระเบิดมีความปลอดภัยก็จะนำมาจัดแสดงไว้บริเวณสนามหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรราชบุรี ต่อไป
การรับฟังความคิดเห็นแผนการพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2561-2564
ในช่วงบ่าย เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งเหลือไม่ถึง 1 ใน 4 ของช่วงเช้า ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นโดย นางปนัดดา เพ็งแป้น ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด โดยในแผนการพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศง2561-2564 ได้ยกร่างฯ ไว้ดังนี้
วิสัยทัศน์ จ.ราชบุรี เมืองเกษตรสีเขียว เศรษฐกิจมั่นคง สังคมมีความสุข
กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ไว้ 4 ด้าน คือ
ส่วนเรื่องการนำลูกระเบิดและหัวรถจักรไอน้ำ ขึ้นมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ต้องขอดูสภาพก่อนว่าจะสามารถบูรณะกลับคืนได้ไหม และลูกระเบิดจะมีความปลอดภัยแค่ไหน ส่วนเรื่องพิพิธภัณฑ์นั้น ไม่มีปัญหา เพราะตอนนี้ วางแผนไว้แล้ว ที่จวนผู้ว่าราชการหลังเก่า จะจัดสร้างเป็น "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรราชบุรี" และที่ศาลแขวงราชบุรี ตรงข้ามไปรษณีย์ราชบุรี ทางศาลฯ จะย้ายไปยังสำนักงานใหม่ซึ่งได้งบประมาณก่อสร้างแล้ว หลังจากนั้นจะจัดสร้างเป็น "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นราชบุรี" ส่วนอาคารไม้ในสถานีตำรวจฝั่งตรงข้ามหอนาฬิกาจะจัดสร้างเป็น "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ" ส่วนเรื่องหัวรถจักรที่กู้ขึ้นมา หากสามารถบูรณะได้ และลูกระเบิดมีความปลอดภัยก็จะนำมาจัดแสดงไว้บริเวณสนามหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมหลวงยกกระบัตรราชบุรี ต่อไป
ศาลแขวงราชบุรี จะจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นราชบุรี |
การรับฟังความคิดเห็นแผนการพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศ.2561-2564
ในช่วงบ่าย เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งเหลือไม่ถึง 1 ใน 4 ของช่วงเช้า ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นโดย นางปนัดดา เพ็งแป้น ผอ.กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด โดยในแผนการพัฒนาจังหวัดราชบุรี พ.ศง2561-2564 ได้ยกร่างฯ ไว้ดังนี้
วิสัยทัศน์ จ.ราชบุรี เมืองเกษตรสีเขียว เศรษฐกิจมั่นคง สังคมมีความสุข
กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ไว้ 4 ด้าน คือ
- การพัฒนาการเกษตรสีเขียวแบบครบวงจร และเมืองอาหารคุณภาพที่เติบโตอย่างมั่นคง
- การเสริมสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การค้า การบริการ การท่องเที่ยว ด้วยนวัตกรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง
- การพัฒนาคุณภาพประชาชน และความมั่นคงในชีวิตด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ที่ประชุมได้เสนอความเห็นอย่างหลากหลาย เช่น ด้านการเกษตรสีเขียว ควรเป็นมุ่งให้เป็นเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดสารทั้งจังหวัด ด้านเศรษฐกิจต้องส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้มแข็ง ให้ความสำคัญต่อพัฒนาธุรกิจ SME อย่างจริงจัง และยังคงต้องพยายามให้มีการพัฒนาการค้าตามแนวชายแดนอย่างเช่นที่เคยเป็นมา ด้านการท่องเที่ยวควรมีการควบคุมและจำกัดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่บริเวณ อ.สวนผึ้ง ซึ่งกำลังจะเสื่อมโทรมลง พยายามเพิ่มวันพักของนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สงครามและเมืองเก่าราชบุรี การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง การพัฒนาระบบเครือข่ายถนนและการขนส่งสาธารณะภายในจังหวัดให้สอดคล้องกับเครือข่ายถนนและทางรถไฟที่กำลังสร้างขึ้น และแผนการพัฒนาจังหวัดราชบุรีควรสอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกันกับแผนการพัฒนาที่ อบจ.ราชบุรี จัดทำด้วย
ทางผู้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ได้มีการจดบันทึกและแจ้งว่าจะนำความคิดเห็นดังกล่าว ไปเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป
*********************
ภาพ/ข่าว สุชาต จันทรวงศ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น